วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แท็กซี่ต้นแบบรุ่นใหม่ที่ชื่อว่า Berlin taxi Concept


ตอนนี้โฟล์คสวาเกนจะทำอย่างนั้นให้กับเมืองเบอร์ลิน ด้วยการสร้างสรรค์แท็กซี่ต้นแบบรุ่นใหม่ที่ชื่อว่า Berlin taxi Concept ออกมาจัดแสดง โดยเป็นการต่อยอดทางด้านแนวคิดให้สอดคล้องกับนโยบายของโฟล์คฯ ที่จะผลิตและพัฒนารถยนต์พลังไฟฟ้าเพื่อออกมาขายเป็นอีกทางเลือกในตลาดปี 2013 อีกด้วย


จุดเริ่มต้นของไอเดียนี้มาจากต้นแบบที่ชื่อ Milano taxi ซึ่งทางโฟล์คฯ นำออกเผยแพร่สู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน แต่ในตอนนั้นเป็นแค่งานดีไซน์ยังไม่มีคันจริงออกมาจัดแสดง และ Berlin taxi เป็นผลผลิตที่ดัดแปลงมาจากต้นแบบรุ่นนั้นและไม่ใช่งานขายฝันอีกต่อ เพราะมีคันจริงออกมาจัดแสดง และนำออกแล่นทดสอบบนถนน

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ขนส่ง ลั่น! จับแน่ แท็กซี่ใหม่ไม่ออกใบเสร็จ




ใบเสร็จแท็กซี่ ชี้ สำคัญสำหรับผู้โดยสาร ต่อไปแท็กซี่ทุกคันต้องมีใบเสร็จ
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการขนส่งทางบก ระบุยืนยัน จากกรณีรถแท็กซี่มิเตอร์ ที่จดทะเบียนใหม่ทุกคัน จะต้องใช้มิเตอร์แสดงอัตราค่าโดยสาร ที่มีเครื่องพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน เพื่อให้ผู้โดยสารตรวจสอบค่าโดยสาร และรายละเอียดในการใช้บริการได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม  2553  จนถึงปัจจุบันผ่านมาปีกว่า มีรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนใหม่ราวเกือบ 10,000 คัน  เฉลี่ยวันละ  70 – 80  คัน  จากแท็กซี่ในกรุงเทพฯ ที่จดทะเบียนราว 80,000  คัน เสียงสะท้อนเป็นไปด้วยดี

ส่วนกรณีผู้โดยสารลืมสิ่งของสัมภาระไว้บนรถแท็กซี่ใช้ใบเสร็จเป็นหลักฐานติดตามของคืนได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น   อีกทั้งใช้เป็นช่องทางร้องเรียนเรื่องการบริการ สำหรับปัญหาที่รถแท็กซี่ใหม่บางคันไม่พิมพ์ใบเสร็จให้เพราะกระดาษหมดนั้น  ผู้โดยสารร้องเรียนได้ที่ 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง กรมฯ จะส่งผู้ตรวจการไปจับปรับมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

อย่างไรก็ตาม กรณีรถเก่าที่มีราว  70,000 คันนั้น  ให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจเพื่อร่วมกันยกระดับคุณภาพการให้บริการ  ดังนั้นอีกไม่กี่ปีเมื่อรถแท็กซี่เก่าหมดอายุการใช้งานต่อไปรถแท็กซี่ทุกคันก็จะมีใบเสร็จทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกแรกที่เกี่ยวกับแท็กซี่

 

แท็กซี่ เป็นการโดยสารสาธารณะประเภทหนึ่งสำหรับผู้โดยสารคนเดียว หรือกลุ่มเล็ก ๆ รถแท็กซี่เป็นยานพาหนะไว้สำหรับว่าจ้างโดยผู้ขับจะส่งผู้โดยสารระหว่างที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งตามที่ผู้โดยสารอยากจะไป

แท็กซี่ เป็นคำย่อมาจาก แท็กซี่ แค็บ (Taxicab) คิดค้นโดยแฮร์รี่ เอ็น อัลเลน นักธุรกิจชาวนิวยอร์กที่นำเข้ารถแท็กซี่มาจากฝรั่งเศส โดยย่อมาจากคำว่า แท็กซี่มิเตอร์ แค็บ (Taximeter cab) อีกที ส่วนคำว่า cab มาจากคำว่า cabriolet คือรถม้าลากจูง และคำว่า taxi เป็นรากศัพท์ภาษาละตินในยุคกลาง ซึ่งมาจาก คำว่า taxa ที่หมายถึง ภาษีหรือการคิดเงิน และคำว่า meter มาจากภาษากรีกคำว่า metron แปลว่า วัดระยะทาง

ประวัติ

บันทึกแรกที่เกี่ยวกับแท็กซี่มิเตอร์ กล่าวถึงแท็กซี่มิเตอร์ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่ยุคคริสตกาล เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนในอาณาจักรโรมัน เป็นรถม้า โดยที่ล้อของรถม้าจะต่อกับเฟืองเป็นทอดๆ ไป ทำให้เฟืองทั้งระบบหมุนตามล้อเมื่อรถเคลื่อนที่ และจะทำให้ "เม็ดกลม" ที่คนขับใส่ไว้ในช่องใส่เม็ดกลมถูกปล่อยหล่นลงในถาดท้ายรถหนึ่งเม็ดทุกๆครั้งที่ระยะทางครบรอบที่กำหนด และเมื่อถึงที่หมาย ผู้โดยสารจะจ่ายค่าโดยสารตามจำนวนเม็ดกลมที่หล่นลงมาในถาด หลังจากนั้นคนขับจะเก็บเม็ดกลมกลับเข้าช่องใส่เม็ดกลม รอลูกค้าคนต่อไป

เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลง เทคโนโลยีแท็กซี่ที่ใช้มิเตอร์ก็หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์นานกว่าพันปี

จนถึงต้นศตวรรษที่ 17 (ค.ศ. 1601 - 1700) มีการใช้รถม้ารับจ้างในการให้บริการในปารีสและลอนดอน โดยมีการควบคุมระเบียบ คุมจำนวนรถ จนในศตวรรษที่ 19 รถม้าเริ่มขนาดใหญ่ขึ้นและมีความเร็วรวมถึงความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารมากขึ้น แต่ยังใช้ม้าลาก ซึ่งเรียกว่า รถแฮนซัม แค็บ (Hansom cabs)

หลังจากนั้นในคริสต์ทศวรรษ 1890 เริ่มมียานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งใน ปารีส ลอนดอนและนิวยอร์ก ในลอนดอนเรียกรถรับจ้างประเภทนี้ว่า ฮัมมิ่งเบิร์ด (มาจากเสียงของรถ) แต่ผู้ที่ริเริ่มแท็กซี่คือ วิลเฮล์ม บรุห์น (Wilhelm Bruhn) ชาวเยอรมันที่คิดค่าโดยสารแบบแท็กซี่มิเตอร์ ต่อมาในปี 1897 ก็อตไลบ์ เดมเลอร์ ได้ผลิตแท็กซี่มิเตอร์สมัยใหม่ที่เรียกว่า เดมเลอร์ วิกตอเรีย หลังจากนั้นก็เริ่มมีการผลิตแท็กซี่อย่างจริงจังที่เมืองสตุ๊ตการ์ต โดยมีนายฟรีดิช ไกรเนอร์เป็นหัวหลัก ในปี 1899 รถแท็กซี่ในกรุงปารีสได้ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงซึ่ง ต่อมาลอนดอนและนครนิวยอร์กก็เปลี่ยนมาใช้เช่นกัน

ในเมืองนิวยอร์กรถแท็กซี่นำเข้ามาจากฝรั่งเศสโดย แฮร์รี่ เอ็น อัลเลน ผู้ริเริ่มเรียกคำว่า แท็กซี่ เป็นคนแรก และยังพ่นสีรถให้เป็นสีเหลืองเพื่อให้มองเห็นได้ในระยะไกล ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสีแท็กซี่ที่แพร่หลายในสหรัฐอเมริกา[1]

แท็กซี่ห้ามติดฟิล์มดำ

 
ตามปกติแล้วรถยนต์ทั่วไป มักจะมีการติดฟิล์มกรองแสง โดยเฉพาะในบ้านเราที่อากาศร้อนอบอ้าว โดยปัจจุบันไม่มีกฎหมายห้ามการติดฟิล์มดำหรือฟิล์มกรองแสง จะมีก็เพียงฟิล์มฉาบปรอทหรือฟิล์มสะท้อนแสงที่ไปรบกวนสายตาผู้ขับขี่รถคันอื่น ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมได้ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 มีโทษตาม มาตรา 60 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

แต่สำหรับรถแท็กซี่ ที่แม้ว่าจะจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยต์ แต่เนื่องจากเป็นรถที่ใช้ให้บริการสาธารณะ จึงได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 พ.ศ. 2548 เป็นระเบียบควบคุมเพิ่มเติมจากรถยนต์ทั่วไป โดยระบุลักษณะของรถแท็กซี่ตอนหนึ่งไว้ว่า...กระจกกันลมทุกด้านต้องเป็นกระจกที่โปร่งใส สามารถมองเห็นสภาพภายในรถและนอกรถได้ชัดเจน และห้ามมิให้นำวัสดุอื่นใดมาติดหรือบังส่วนหนึ่งส่วนใดของกระจก เว้นแต่เป็นการติดเครื่องหมายหรือเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด หรือการติดวัสดุสำหรับบังหรือกรองแสงแดดที่กระจกกันลมด้านหน้าตามขนาดที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด (มีระเบียบกรมตำรวจ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2538 กำหนดให้ติดฟิล์มกรองแสงได้เฉพาะกระจกด้านหน้า แต่ไม่เกินกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่) รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมทำให้ถูกกฎหมาย

ข้อควรรู้ก่อนใช้ LPG/NGV

 
 
นาทีนี้เชื่อว่าหลายคนที่ใช้รถ คงต้องแบกภาระค่าน้ำมันกันจนไหล่แทบหลุด เพราะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้นทุกวันๆ ยิ่งเบนซิน 95 ก็เข้าวินมาก่อนเพื่อน แตะขอบสระที่ 40 บาทต่อลิตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เหลือก็กำลังตามกันมาแบบติดๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้เวลาจะเติมน้ำมันเต็มถังสักที ก็ต้องควักเงินเกือบ 2 พันบาทกันแล้ว เฮ้อ...คิดแล้วกลุ้ม ทำให้หลายคนเริ่มมองหาทางออกนานัปการมาเป็นตัวช่วยในการประหยัดงบ ซึ่งทางออกหนึ่งที่เป็นหัวข้อท็อปฮิตอยู่ขณะนี้เห็นจะไม่พ้น การเปลี่ยนมาใช้ก๊าซ ที่มีราคาถูกกว่ากันเยอะ แต่ก็มักมีคำถามตามมาอีกว่า... "แล้วจะใช้ก๊าซอะไรดี ปลอดภัยหรือไม่ แล้วจะระเบิดหรือป่าว...?" วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับก๊าซแอลพีจี และเอ็นจีวี 2 พลังงานทางเลือกมาแรงสำหรับรถยนต์มาฝากกันค่ะ

ก๊าซแอลพีจี คืออะไร?

ก๊าซแอลพีจี(Liquefied Petroleum Gas: LPG) หรือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว คือ พลังงานธรรมชาติประเภทหนึ่งที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในนาม "ก๊าซหุงต้ม" เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เบากว่าน้ำแต่หนักกว่าอากาศจึงลอยอยู่ในระดับต่ำ มีการสะสมและลุกไหม้ได้ง่าย ดังนั้น เมื่อมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ จึงมีข้อกำหนดให้เติมสารมีกลิ่น เพื่อเป็นการเตือนภัย หากเกิดการรั่วไหลขึ้น

ในบ้านเราก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี ได้มาจากการกลั่นน้ำมันและบ่อก๊าซธรรมชาติ ในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน(ปตท. ยังมีเหลือจัดส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วยนะ) ก๊าซหุงต้มมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้แป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้ก็คือ เป็นก๊าซที่มีค่าอ็อกเทนสูงโดยธรรมชาติ มีสองสถานะคือ มีสภาพเป็นก๊าซและเป็นของเหลว ซึ่งก๊าซแอลพีจีจะถูกบรรจุเป็นของเหลวใส่ถังภายใต้แรงดันสูง (แต่ยังต่ำกว่า เอ็นจีวี) เพื่อให้ขนถ่ายง่าย เมื่อนำไปใช้งานจะกลายสภาพเป็นไอ

นอกจากจะนิยมใช้แอลพีจีในครัวเรือนแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำก๊าซแอลพีจีมาใช้แทนน้ำมันเบนซิน ในรถยนต์ เนื่องจากราคาถูกกว่าและมีค่าออกเทนสูงถึง 105 ทำให้เมื่อนำมาใช้กับรถยนต์แล้ว มีประสิทธิภาพสูง สมรรถนะทัดเทียมกับรถที่ใช้ระบบน้ำมันเดิม จนผู้ขับขี่ไม่มีความรู้สึกแตกต่างระหว่างการใช้น้ำมันหรือก๊าซแอลพีจี

คุณสมบัติของก๊าซแอลพีจี

1. ก๊าซแอลพีจี อยู่ในรูปของเหลว และมีความดันต่ำ ถังก๊าซแอลพีจีมีความหนาผนังมากกว่าถังน้ำมันเบนซินมาก ทำให้โอกาสที่จะเกิดการระเบิด จากถังเนื่องจากการชนเป็นไปได้น้อย

2. ก๊าซแอลพีจี ไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างใด ทำให้การจุดระเบิดสะอาดหมดจด และยืดอายุการใช้งานได้

3. ก๊าซแอลพีจี มีออกเทนสูงกว่าน้ำมันเบนซิน จึงส่งผลให้การสตาร์ทและการทำงานของเครื่องยนต์มีความสมบูรณ์มากขึ้น

4. ราคาค่าก๊าซถูกกว่าน้ำมันเบนซินหรือดีเซล ทั้งปัจจุบันและอนาคต

5. ช่วยป้องกันปัญหาที่เรียกว่ารถกินน้ำมันเครื่อง เพราะการสึกหรอของชิ้นส่วน เมื่อใช้ก๊าซมีน้อยกว่า

6. ยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์

7. เครื่องยนต์เดินได้ราบเรียบกว่าในรอบที่ต่ำกว่า ถ้าหากได้รับการติดตั้งอย่างถูกวิธี

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ LPG ในรถยนต์

1. ต้องรู้ว่าก๊าซหุงต้มคือ ก๊าซ ที่หนักกว่าอากาศ เมื่อมีการรั่วซึมจะเกาะกลุ่มกันอยู่บนพื้นในระดับต่ำ

2. ควรจะต้องตรวจเช็คการรั่วซึมตามจุดต่างๆ อย่างน้อยปีละสองครั้ง

3. ก่อนที่จะมีการถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ในระบบก๊าซจะต้องปิดวาวล์ที่ถังก๊าซให้สนิท

4. จะต้องไม่เติมก๊าซมากกว่าร้อยละแปดสิบของความจุของถัง

5. ในการเติมก๊าซทุกครั้งอาจจะมีการรั่วซึมออกมานิดหน่อยตรงหัวเติมก๊าซ ให้ระวังประกายไฟในขณะนั้น

6. การจอดรถหลังเลิกใช้งานเมื่อจอดรถในที่จอด เช่น โรงรถ ควรจะปิดวาวล์ที่ถังแกส

7. โรงจอดรถถ้าเป็นไปได้ควรจะเป็นที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยเฉพาะในระดับพื้นดินต้องโปร่งโล่ง

8. ถ้าจะนำรถที่ใช้ก๊าซเข้าตรวจเช็คสภาพรถยนต์ตามปกติ ควรจะให้มีก๊าซในถังเหลือน้อยที่สุด

9. ในรถรุ่นที่ต้องปรับตั้งลิ้นไอดีไอเสียแบบกลไก ก็จะต้องมีการปรับตั้งระยะห่างของลิ้นตามปกติอย่างเข้มงวด

10. LPG จะถูกเผาไหม้ช้ากว่าน้ำมันเบนซิน การปรับตั้งไฟจุดระเบิดจึงต้องปรับตั้งล่วงหน้าเพื่อจะเผาไหม้ได้หมดจด

11. LPG ต้องใช้ประกายไฟจากหัวเทียนเข้มข้นกว่าที่ใช้ในน้ำมันเบนซิน จึงต้องเลือกใช้หัวเทียนให้ถูกต้องกับค่าความร้อน

12. LPG มีค่าอ็อกเทนประมาณ 91ถึง125 รถที่จะติดตั้งก๊าซหุงต้ม ควรจะมีอัตราส่วนกำลังอัดตั้งแต่ 10:1ขึ้นไป จึงจะใช้ประสิทธิภาพของก๊าซได้อย่างคุ้มค่า

อย่างไรก็ตาม รถยนต์ที่ใช้ LPG ถ้าวิเคราะห์กันในเรื่องของความปลอดภัยแล้ว มีความปลอดภัยไม่น้อยกว่ารถที่ใช้น้ำมันเบนซิน โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการชนทั้งหน้าหรือท้ายรถ วาล์วนิรภัยจะทำการปิดล็อคทันทีโดยอัตโนมัติ เมื่อมีก๊าซรั่วไหลออกจากถังในอัตราที่ผิดปกติจากการใช้งาน ในขณะที่ถังน้ำมันเบนซิน เมื่อถูกชนยังมีโอกาสแตกรั่วทำให้น้ำมันรั่วไหลลงพื้น

ก่อนนำรถที่ใช้งานอยู่เป็นประจำไปติดตั้งก๊าซแอลพีจี ควรจะปรับปรุงเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดเสียก่อน รถยนต์ทุกวันนี้แม้จะเป็นรถยนต์ที่ถูกพัฒนาให้ทันสมัยด้วยเทคโนโลที่สูง อุปกรณ์ในการติดตั้งก๊าซ และกรรมวิธีในการติดตั้งก็ได้รับการพัฒนาให้ตามทันกับการพัฒนาของรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งในระบบดูดหรือในระบบฉีด ก็ไม่มีปัญหาสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การวิตกกังวลกับเรื่องการสึกหรอของเครื่องยนต์เมื่อใช้ก๊าซนั้นในเทคโนโลยีของปัจจุบัน ไม่ใช่ปัญหาที่จะต้องนำมาขบคิดกันอีกต่อไป

ในอารยะประเทศทุกภูมิภาคของโลกนี้ มีรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซ LPG ที่ใช้ร่วมกับน้ำมันเบนซินมากเป็นล้านๆ คันแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศยุโรปที่เข้มงวดกวดขันในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพราะก๊าซ คือพลังงานที่สะอาด และประหยัด อย่ารีรอหรือกริ่งเกรงถ้าหากวันนี้ท่านคิดจะติดตั้งก๊าซ LPG ในรถยนต์ของท่าน เพราะในภาวะที่ราคาของน้ำมันมีแต่ปรับราคาขึ้นเป็นรายวัน ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับวันนี้ ติดตั้งก๊าซ น่าจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าแม้ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการติดตั้งก็ตาม

ก๊าซเอ็นจีวีคืออะไร

ก๊าซเอ็นจีวี (Natural Gas for Vehicle: NGV) มีภาษาเชิงวิชาการว่า ก๊าซซีเอ็นจี (Compressed Natural Gas: CNG) คือ ก๊าซธรรมชาติที่มี "มีเทน" เป็นส่วนประกอบหลักและถูกอัดจนมีความดันสูง ซึ่งในบางประเทศเรียกว่า "ก๊าซธรรมชาติอัด" (ซีเอ็นจี) ซึ่งถูกอัดที่แรงดัน 200 bar หรือ 3,000 psi และถูกกักเก็บไว้ในถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดที่ถูกผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษให้สามารถรองรับแรงดันได้ โดยมีสภาพเป็นก๊าซหรือไอที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ โดยมีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าอากาศ จึงเบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะฟุ้งกระจายไปตามบรรยากาศอย่างรวดเร็ว จึงไม่มีการสะสมลุกไหม้บนพื้นราบ

คุณสมบัติของก๊าซเอ็นจีวี

1. อุณหภูมิติดไฟของก๊าซเอ็นจีวีนั้นสูงกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ เป็นผลให้ลดความเสี่ยงของการเกิดไฟไหม้เมื่อก๊าซรั่วหรืออุบัติเหตุ

2. ก๊าซเอ็นจีวี ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปไอ ซึ่งมีแรงดันสูง จึงทำให้ไม่มีอากาศเข้าไปผสม จึงไม่ก่อให้เกิดการผสมกันระหว่างก๊าซ จึงลดโอกาสในการติดไฟและระเบิดได้

3. ก๊าซเอ็นจีวี ก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สะอาดหมดจด และไม่ก่อให้เกิดการสกปรกของน้ำมันเครื่อง จึงสามารถยืดอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องได้

4. ก๊าซเอ็นจีวี ไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างใด ทำให้การจุดระเบิดสะอาดหมดจด และยืดอายุการใช้งานได้

5. ก๊าซเอ็นจีวี ไม่ส่งผลเสียต่อลูกสูบและกระบอกสูบ ทำให้เกิดการหล่อลื่นที่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น

6. ก๊าซเอ็นจีวี มีออกเทนสูงกว่าน้ำมันเบนซิน จึงส่งผลให้การสตาร์ทและการทำงานของเครื่องยนต์มีความสมบูรณ์มากขึ้น

7. ก๊าซเอ็นจีวี ก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สะอาดหมดจด ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น จึงช่วยลดมวลไอเสีย และส่งผลต่อการลดมลพิษในอากาศโดยตรง

8. มีสัดส่วนของคาร์บอนน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นและมีคุณสมบัติเป็นก๊าซ ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์มากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกจากเครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ มีปริมาณต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น

9. เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดควันดำหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน จึงสามารถลดปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

10. เป็นเชื้อเพลิงที่สามารถผลิตได้ในประเทศ จึงมีราคาถูกกว่าน้ำมัน และสามารถประหยัดเงินตราต่างประเทศจากการลดการนำเข้าน้ำมันดิบ

11. เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ที่มีความปลอดภัยมากที่สุด เพราะมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ ดังนั้นเมื่อเกิดรั่วไหล ก๊าซเอ็นจีวีจะไม่สะสมอยู่บนพื้นดินจนเกิดการลุกไหม้เหมือนเชื้อเพลิงอื่นๆ และอุณหภูมิที่จะทำให้ก๊าซเอ็นจีวีสามารถลุกติดไฟในอากาศเองได้ก็ต้องสูงถึง 650 องศาเซลเซียส

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของข้อด้อยนั้นรถยนต์ที่จะใช้ก๊าซเอ็นจีวีได้ต้องเป็นรถที่มีเครื่องยนต์ ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานก๊าซเอ็นจีวีโดยเฉพาะ หรือไม่ก็ต้องเป็น "เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงสองระบบ" หรือ "เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงร่วม" ที่ผ่านการดัดแปลงและติดตั้งอุปกรณ์พิเศษที่ทำให้เครื่องยนต์ใช้ได้ทั้งน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และก๊าซเอ็นจีวี

ปัจจุบันอุปกรณ์สำหรับการดัดแปลงเครื่องยนต์ดังกล่าวต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งอุปกรณ์ใช้ก๊าซเอ็นจีวีระบบ "เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงร่วม" (ดีเซล-เอ็นจีวี) มีราคาสูงถึง 400,000-500,000 บาท และอุปกรณ์ใช้ก๊าซเอ็นจีวีระบบ "เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงสองระบบ" (เบนซิน-เอ็นจีวี) มีราคา 30,000-50,000 บาท นอกจากนี้ รถเอ็นจีวีจะมีกำลัง "ต่ำ" กว่ารถทั่วไปตามท้องตลาด แต่ถ้าวิ่งในเมืองปัญหาข้อนี้จะไม่มีผลกระทบมากนัก

รู้จักก๊าซธรรมชาติทั้งสองชนิดกันแล้ว ทีนี้เราจะมาเปรียบเทียบจุดเด่นจุดด้อยของก๊าซทั้งสองชนิดให้เห็นกันแบบชัดๆ เพื่อง่ายต่อการตัดสินใจค่ะ...

จุดเด่นของแอลพีจี

1. ค่าติดตั้งถูกกว่า ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ ถ้าเป็นระบบดูดก๊าซ(Mixer) มีค่าใช้จ่าย 15,000-28,000 บาท ส่วนระบบฉีดก๊าซ(Injection) มีค่าใช้จ่ายราวๆ 35,000-43,000 บาท

2. มีความจุก๊าซมากกว่า กล่าวคือ ถังก๊าซที่มีขนาดเท่ากัน แต่แอลพีจีสามารถบรรจุปริมาณก๊าซได้มากกว่า

3. มีสถานีบริการ จำนวนแพร่หลายมากกว่า

ข้อด้อยแอลพีจี

1. เป็นก๊าซที่ติดไฟง่ายกว่าเอ็นจีวี มีราคาสูงกว่า

2. ภาครัฐมีแผนที่จะปล่อยราคาก๊าซให้ลอยตัวเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งจะส่งผลให้ก๊าซแอลพีจี มีราคาสูงขึ้นอีกในอนาคต

จุดเด่นของก๊าซเอ็นจีวี

1. ภาครัฐให้การสนับสนุน มีนโยบายในเรื่องของการกำหนดราคา ทำให้ราคาอยู่ในการควบคุม

2. มีรถยนต์ที่ใช้เอ็นจีวี ประกอบจากโรงงานโดยตรง

3. ปลอดภัยกว่า ทั้งในแง่คุณสมบัติของมันเองที่เบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหล ก็จะฟุ้งกระจายไปบนอากาศอย่างรวดเร็ว และอู่ที่รับติดตั้งเอ็นจีวี ผ่านการรับรองจาก ปตท.

ข้อด้อยก๊าซเอ็นจีวี

1. เรื่องสถานีบริการมีจำนวนน้อย โดยขณะนี้มีสถานีบริการเอ็นจีวีที่เปิดให้บริการแล้วจำนวน 176 แห่ง และกำลังจะเปิดอีก 59 แห่งในปีนี้

2. ค่าติดตั้งค่อนข้างสูง โดยระบบดูดก๊าซจะมีค่าใช้จ่าย 38,000-43,000 บาท ส่วนระบบฉีดก๊าซ เป็นระบบที่มีอีซียู ควบคุมกรจ่ายก๊าซตามลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ จะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 58,000-63,000 บาท

ได้รับข้อมูลเบื้องต้นกันไปแล้ว ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของคุณๆ ที่จะต้องตัดสินใจกันเองแล้วหละค่ะว่า จะเลือกพลังงานทางเลือกชนิดใด


แท็กซี่แปลกๆ

 
 
ชอบแบบไหนเพื่อนๆแท็กซี่ก็เลือกขับ เลือกขี่กันเอาเองนะ.
 
 
ฝากไว้ดูแก้เครียดกันนะ

รถตุ๊กตุ๊กไทย ครองอันดับ 5 แท็กซี่ดีสุดในโลก



เว็บไซต์การท่องเที่ยว hotels.com จัดอันดับรถแท็กซี่ดีที่สุดในโลก จากการสอบถามจากนักเดินทาง พบว่า รถตุ๊กตุ๊ก ของไทย รั้งอันดับ 5 ของโลก โดยมี แท็กซี่ของอังกฤษ มาเป็นอันดับ 1

hotels.com เปิดเผย ผลการจัดอันดับรถแท็กซี่ที่ดีที่สุดในโลก จากการสอบถามนักเดินทาง กว่า 1,900 คน ในช่วง 11-28 พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า แท็กซี่ในกรุงลอนดอน ของอังกฤษ ครองอันดับ 1 เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ได้คะแนนร้อยละ 59
อันดับ 2 เป็นแท็กซี่สีเหลือง ในนครนิวยอร์ก ในสหรัฐฯ ร้อยละ 27
อันดับ 3 แท็กซี่ในกรุงโตเกียว ญี่ปุ่น ร้อยละ 26
อันดับ 4 แท็กซี่กรุงเบอร์ลิน ในเยอรมนี ร้อยละ 17
และอันดับ 5 ตุ๊กต๊ก ในกรุงเทพฯ ร้อยละ 14

ทั้งนี้ มีการจัดอันดับแท็กซี่ที่เลวร้ายที่สุด พบว่า คนขับรถแท็กซี่ในกรุงโรม มาเป็นเบอร์ 1

 "ตุ๊กตุ๊กไทย"เป็นที่รู้จักดีของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

        นอกจากเป็นที่รู้จักดีแล้ว ล่าสุด "ตุ๊กตุ๊กไทย"ยังได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวว่า"เป็นมิตร" โดยผลการสำรวจความเห็นของนักท่องเที่ยวจากเวบ hotels.com ประมาณ 2,000 คนเกี่ยวกับ"รถบริการ"ปรากฎว่า"ตุ๊กตุ๊กไทย"สร้างความประทับใจติด 1 ใน 5 ของนักท่องเที่ยว
        โดยรถบริการที่ได้รับการยกย่องและยอมรับว่า"บริการดีที่สุด" คือแท็กซี่ในกรุงลอนดอน ซึ่งแม้จะได้รับการกล่าวขานถึงค่าบริการที่สุดแพง แต่ก็ให้บริการดีที่สุดในโลกจนสร้างความประทับใจนักท่องเที่ยวหลายๆด้าน ด้วยคะแนนโหวตรวม 59% และเป็นแชมป์ปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยถูกยกย่องว่า"เป็นมิตรที่สุด" และ"รอบรู้มากที่สุด"
        ทั้งนี้เป็นเพราะก่อนมาทำงานนี้ คนขับแท๊กซี่ในกรุงลอนดอนจะต้องผ่านการทดสอบความรู้อย่างเข้มงวด เพื่อให้ได้ใบอนุญาตขับขี่แท็กซี่
        ส่วนที่ถูกยกย่องอันดับ 2 คือแท็กซี่สีเหลืองในมหานครนิวยอร์ก ที่ได้คะแนนโหวต 27% เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% ซึ่งสาเหตุที่คะแนนมากขึ้นเพราะ"นิวยอร์คเป็นเมืองที่หาแท็กซี่ง่ายที่สุด" แต่แม้"แท๊กซี่สีเหลือง"ได้รับการยกย่อง กลับมีการลงคะแนนที่แปลก นั่นคือ แท็กซี่ในเมืองแมนฮัตตัน ได้รับตำแหน่ง"หยาบคายที่สุด"  ส่วนอันดับ 3 คือแท๊กซี่กรุงโตเกียวได้คะแนน 26% อันดับ 4 แท๊กซี่กรุงเบอร์ลิน 17% และอันดับ 5 นักท่องเที่ยวโหวตให้"รถตุ๊กตุ๊กกรุงเทพฯ" ขณะที่ไม่มีคะแนนให้"แท๊กซี่" โดยรถตุ๊กตุ๊กกรุงเทพฯได้คะแนนโหวต 14%
        สำหรับผลสำรวจนักท่องเที่ยวทั่วโลกครั้งนี้ ได้ให้คะแนนแท็กซี่ประจำเมืองหลายเรื่อง เช่น ความสะอาด ความคุ้มค่า คุณภาพในการขับขี่ ความรอบรู้ในพื้นที่ ความเป็นมิตร ความปลอดภัย และการบริการทั่วถึง

แท็กซี่ต้นแบบเมืองเบอร์ลิน

 
 

เอกลักษณ์ของเมืองใหญ่ซึ่งจะกลายเป็นที่จดจำของคนทั่วโลก นอกจากอาคารหรือสถานที่ซึ่งเป็น Landmark ของเมือง และของเล็กๆ อย่างเช่น ตู้โทรศัพท์ หรือตู่ไปรษณีย์แล้ว ระบบขนส่ง เช่น รถเมล์ หรือแท็กซี่ก็ถือเป็นอีกสัญลักษณ์ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะจดจำเมืองนั้นๆ ได้ เช่น ลอนดอน แท็กซี่ หรือเมื่อคิดถึงฟอร์ด คราวน์ วิคตอเรียสีเหลือง ก็ต้องนึกถึงนิวยอร์กอะไรทำนองนั้น

ตอนนี้โฟล์คสวาเกนจะทำอย่างนั้นให้กับเมืองเบอร์ลิน ด้วยการสร้างสรรค์แท็กซี่ต้นแบบรุ่นใหม่ที่ชื่อว่า Berlin taxi Concept ออกมาจัดแสดง โดยเป็นการต่อยอดทางด้านแนวคิดให้สอดคล้องกับนโยบายของโฟล์คฯ ที่จะผลิตและพัฒนารถยนต์พลังไฟฟ้าเพื่อออกมาขายเป็นอีกทางเลือกในตลาดปี 2013 อีกด้วย

จุดเริ่มต้นของไอเดียนี้มาจากต้นแบบที่ชื่อ Milano taxi ซึ่งทางโฟล์คฯ นำออกเผยแพร่สู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน แต่ในตอนนั้นเป็นแค่งานดีไซน์ยังไม่มีคันจริงออกมาจัดแสดง และ Berlin taxi เป็นผลผลิตที่ดัดแปลงมาจากต้นแบบรุ่นนั้นและไม่ใช่งานขายฝันอีกต่อ เพราะมีคันจริงออกมาจัดแสดง และนำออกแล่นทดสอบบนถนน


ตรงนี้เป็นความสอดคล้องทางด้านความต้องการของโฟล์คฯ และเทศบาลเมืองเบอร์ลิน ซึ่งจะมีการปรับตัวให้สอดรับกับการเป็นนครที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเริ่มมีการรณรงค์ให้หันมาสนใจกับรถยนต์พลังไฟฟ้า ส่วนทางโฟล์คฯ เองก็ขานรับความต้องการด้วยการพัฒนารถยนต์ออกมารองรับด้วยแนวคิด National Platform for Electric Mobility ซึ่งพวกเขาเชื่อว่า หากเริ่มที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีความแพร่หลายและเห็นผลในเรื่องของการลดมลพิษ ควรจะเริ่มที่แท็กซี่ที่แล่นอยู่บนถนนเป็นจำนวนมากเป็นอันดับแรก
   
   

ใครที่คิดว่าแท็กซี่จะต้องเป็นรถยนต์คันโตๆ เห็นทีจะต้องคิดกันใหม่ เพราะโฟล์คฯ พัฒนา Berlin taxi ให้เน้นความคล่องตัวสำหรับการใช้งานในเมืองด้วยตัวถังที่มีความยาวเพียง 3.73 เมตร สูง 1.6 เมตร และกว้าง 1.66 เมตร แต่ข้างในเพียบพร้อมด้วยความอเนกประสงค์เพื่อรองรับกับการบรรทุกทั้งคนและสัมภาระ
สำหรับรูปลักษณ์ภายนอกของตัวรถถูกกำหนดเอาไว้ว่าเป็นรถยนต์ทรงกล่องแบบประตูที่มีลักษณะสไลด์ไปทางด้านหลัง ซึ่งโฟล์คเชื่อว่าจะปลอดภัยที่สุดหากผู้โดยสารเข้าหรือออกจากตัวรถโดยที่ประตูด้านหลังเป็นแบบสไลด์เหมือนกับพวกรถตู้ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกรถยนต์ที่แล่นอยู่บนถนนชนประตู ถ้าใช้ประตูในลักษณะเปิดอ้าออกแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
   
   

ดังนั้นประตูฝั่งผู้โดยสารจะมีลักษณะยาวจากเบาะด้านหน้าไปจนถึงด้านหลัง ขณะที่อีกฝั่งสำหรับผู้ขับ (รถยนต์พวงมาลัยซ้าย) จะมีแค่ประตูบานหน้าเท่านั้นเพื่อให้คนขับเข้าออก ซึ่งประตูเปิดได้กว้าง อีกทั้งตัวถังที่เป็นทรงสูง ยังทำให้การเข้าออกไม่มีปัญหาสำหรับฝรั่งตัวโตๆ
   
   

การจัดวางพื้นที่ในห้องโดยสารตอบสนองในด้านประโยชน์ใช้สอยเต็มที่ ซึ่งสำหรับแท็กซี่ในต่างประเทศ ที่มีการจำกัดจำนวนคนนั่งต่อคัน ทำให้การจัดวางตรงนี้สะดวกขึ้น ซึ่งเบาะนั่งด้านหลังรองรับผู้โดยสารได้ 2 คน คน และมีหน้าจอทัชสกรีนขนาด 8 นิ้วคล้ายกับ iPad ขนาดใหญ่วางอยู่ตรงเบาะหลังคนขับ
จอนี้จะทำหน้าที่เป็น Points of interest (POIs) บอกแจ้งเส้นทางและสถานที่น่าสนใจของเมือง รวมถึงราคาค่าบริการ และลูกค้าสามารถเลือกจ่ายผ่านบัตรเครดิตได้ รวมถึงยังสามารถปรับระดับของเครื่องปรับ อากาศผ่านทางหน้าจอนี้ได้ ขณะที่เบาะด้านหน้าฝั่งคนขับจะถูกโอบล้อมด้วยแผงคอนโซลเกียร์ที่ยาวและสูงเพื่อกั้นเป็นสัดส่วน พร้อมกับออกแบบเกียร์และเบรกมือให้รวมอยู่เป็นส่วนเดียวกัน
   
   
ส่วนฝั่งผู้โดยสารด้านหน้าปล่อยโล่งให้เป็นพื้นที่สำหรับบรรทุกสัมภาระ เช่น กระเป๋าเดินทาง และตรงแผงหน้าปัดใกล้ๆ กับกระจกมองข้างจะมีช่องคล้ายๆ กับช่องของกระปุกออมสินสำหรับให้ผู้โดยสารที่กำลังขนสัมภาระลงเสร็จเรียบร้อยแล้วจัดจ่ายทิปให้กับคนขับ

ตัวรถขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีช่วงกำลังสูงสุด 85 กิโลวัตต์ หรือ 50 กิโลวัตต์สำหรับการผลิตกำลังแบบต่อเนื่องและคงที่ และอาศัยกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออนที่ถูกติดตั้งอยู่ใต้พื้นตัวถังเป็นแบบขนาด 45 kWh ขณะที่ตัวรถอาจจะหนักหน่อยเมื่อเปรียบเทียบกับขนาด เพราะอยู่ที่ 1,500 กิโลกรัม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะชุดแพ็คแบตเตอรี่ที่ต้องขนาดใหญ่หน่อย เนื่องจากตัวรถต้องแล่นให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ขืนขับได้นิดเดียว แล้วต้องชาร์จ รายได้หดกันพอดี
แต่แพ็คแบตเตอรี่ชุดนี้เมื่อชาร์จเต็มก็แล่นได้ 300 กิโลเมตร ขึ้นอยู่สไตล์การขับ ส่วนการชาร์จสามารถทำได้โดยที่โลโก้ VW บนกระจังหน้าจะมีช่องสำหรับชาร์จไฟ โดยการชาร์จแบบ Quick Mode เอาแบบแค่ 80% ก็รอเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ถ้าจะเอาเต็มก็ 3-4 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าและระบบพื้นฐานของเครื่องชาร์จด้วยว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหน
   
   
โฟล์คฯ บอกว่านี่ยังเป็นต้นแบบ แต่ก็ไม่หมายความว่าจะไม่มีโอกาสกลายเป็นจริง และถ้ารถยนต์พลังไฟฟ้ารุ่นแรกของตัวเองวางขายในปี 2013 เชื่อว่าน่าจะสามารถต่อยอดและนำไปสู่การผลิตเป็นจำนวนมาก เพื่อการใช้งานบริการในสไตล์แท็กซี่ได้


เอกลักษณ์ของเมืองใหญ่ซึ่งจะกลายเป็นที่จดจำของคนทั่วโลก นอกจากอาคารหรือสถานที่ซึ่งเป็น Landmark ของเมือง และของเล็กๆ อย่างเช่น ตู้โทรศัพท์ หรือตู่ไปรษณีย์แล้ว ระบบขนส่ง เช่น รถเมล์ หรือแท็กซี่ก็ถือเป็นอีกสัญลักษณ์ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะจดจำเมืองนั้นๆ ได้ เช่น ลอนดอน แท็กซี่ หรือเมื่อคิดถึงฟอร์ด คราวน์ วิคตอเรียสีเหลือง ก็ต้องนึกถึงนิวยอร์กอะไรทำนองนั้น
ตอนนี้โฟล์คสวาเกนจะทำอย่างนั้นให้กับเมืองเบอร์ลิน ด้วยการสร้างสรรค์แท็กซี่ต้นแบบรุ่นใหม่ที่ชื่อว่า Berlin taxi Concept ออกมาจัดแสดง โดยเป็นการต่อยอดทางด้านแนวคิดให้สอดคล้องกับนโยบายของโฟล์คฯ ที่จะผลิตและพัฒนารถยนต์พลังไฟฟ้าเพื่อออกมาขายเป็นอีกทางเลือกในตลาดปี 2013 อีกด้วย

จุดเริ่มต้นของไอเดียนี้มาจากต้นแบบที่ชื่อ Milano taxi ซึ่งทางโฟล์คฯ นำออกเผยแพร่สู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน แต่ในตอนนั้นเป็นแค่งานดีไซน์ยังไม่มีคันจริงออกมาจัดแสดง และ Berlin taxi เป็นผลผลิตที่ดัดแปลงมาจากต้นแบบรุ่นนั้นและไม่ใช่งานขายฝันอีกต่อ เพราะมีคันจริงออกมาจัดแสดง และนำออกแล่นทดสอบบนถนน

แท็กซี่ในประเทศเกาหลี

 
รถแท็กซี่ธรรมดาระบบค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง และเวลาที่ได้ใช้บริการไป ท่านจะต้องเสียค่าโดยสาร 1,600 วอน สำหรับ 2 กม. แรก และเสียอีก 100 วอน ทุกระยะ 168 ม. ที่เพิ่มขึ้น ถ้าจราจรติดขัดแท็กซี่วิ่งได้น้อยกว่า 15 กม. ต่อ 1ชม. ท่านต้องเสียค่าโดยสารเพิ่มขึ้น 100 วอน ทุกระยะเวลา 41 วินาที
รถแท็กซี่แบบหรูหรา
ในประเทศเกาหลีเรียกรถแท็กซี่แบบหรูหราว่า “โมบ็อม” รถพวกนี้มีสีดำ ป้ายสีเหลืองข้างบน และมีคำว่า “Deluxe Taxi” เขียนอยู่ด้านข้าง รถเหล่านี้มีที่นั่งผู้โดยสารกว้างกว่า และมีบริการมาตรฐานสูง ท่านต้องเสียค่าโดยสาร 4,000 วอน สำหรับ 3 กม. แรก และเสียอีก 200 วอน ทุกระยะ 205 ม. ที่เพิ่มขึ้น หรือทุกๆ 50 วินาที ในช่วงที่จราจรติดขัด และรถใช้ความเร็วได้ต่ำกว่า 15 กม.ต่อ 1 ชม. ค่าโดยสารปกติ ระหว่างสนามบินคิมโพ และย่านใจกลางเมืองประมาณ 69,000 วอน รวมค่าทางด่วนแล้ว รถแท็กซี่ประเภทนี้ จะออกใบเสร็จให้ท่าน และไม่มีการเรียกเก็บเงินเพิ่ม ในกรณีที่ใช้บริการตอนกลางคืนดึกๆ ท่านสามารถเรียกแท็กซี่ประเภทนี้ได้ตามป้ายจอดตามโรงแรมต่างๆ สถานีต่างๆ สถานีปลายทางรถโดยสาร และตามถนนในเมืองใหญ่ทั่วไป
รถแท็กซี่ขนาดใหญ่
ให้บริการรถตู้รับผู้โดยสารได้ 8 คน รถดังกล่าวยังติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เป็นภาษาต่างประเทศเช่น โทรศัพท์, เครื่องออกใบเสร็จรับเงิน และบริการชำระผ่านบัตรเครดิต อัตราค่าโดยสาร จะเหมือนกับรถแท็กซี่แบบหรูหราผู้โดยสารสามารถบรรทุกกระเป๋าได้มากขึ้น เพื่อความสะดวก

รู้เรื่องแท็กซี่

 

แท็กซี่นั้นมีกฎระเบียบมากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสี เรื่องของสภาพรถ เรื่องของอุปกรณ์ต่างๆ ที่กฎการขนส่งทางบกบังคับ เรื่องของผู้ที่สามารถขับรถแท็กซี่ได้ รวมทั้งอัตราค่าบริการและขอบเขตของการเก็บค่าบริการหรือค่าโดยสาร เป็นต้นก่อนอื่นผมจะขอยกทีละเรื่องมาอธิบายเพื่อสะดวกแก่ผู้ท่องเว็บและเพื่อที่จะได้เข้าใจง่ายไม่ซ้ำซ้อน โดยจะเริ่มที่สีของรถก่อน บางท่านอาจะเคยเห็นรถแท็กซี่ที่วิ่งผ่านไปมา มีมากมายหลายสีเหลือเกินแต่อาจจะยังไม่เข้าใจความหมายของสีตัวรถแท็กซี่ในปัจจุบันนี้แท็กซี่มีมากมายหลายสี ไม่ว่าจะเป็นแท็กซี่สีเดียว เช่น สีฟ้า สีแดง สีชมพู สีเหลือง สีส้ม
และสีอื่นๆ หรือจะเป็นแท็กซี่ ทีมีสองสี เช่น สีเขียว/เหลือง สีฟ้า/แดง และสีอื่นๆอีกมากมายเช่นกัน จนแทบจำกันไม่ได้ว่าแต่ละสีของรถแท็กซี่มันหมายถึงอะไร แต่สามารถจำแนกออกได้เป็นประเภทไม่ยากนัก

1. ประเภทรถสีเดียว ไม่ว่าจะเป็นสีอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเป็นสีของรถแท็กซี่นั่นหมายถึงแท็กซี่คันนั้นเป็นรถของสหกรณ์หรือรถของบริษัท หรือผู้ที่ต้องการเข้าร่วมวิ่งกับบริษัทหรือสหกรณ์นั้ๆ ซึ่งตามกฎการขนส่งทางบกระบุว่า "ผู้ใดที่ต้องการมีรถแท็กซี่มากกว่าหนึ่งคันต้องจดทะเบียนในรูปของบริษัทหรือในรูปของสหกรณ์และให้กำหนดสีของบริษัทหรือสหกรณ์นั้นๆ มายื่นต่อกรมขนส่งทางบกโดยแต่ละบริษัทหรือสหกรณ์นั้ห้ามใช้สีของตัวรถซ้ำกัน" สรุปได้ว่า ถ้าเห็นรถแท็กซี่สีเดียวเมื่อไรขอให้รู้ทันที่ว่าเป็นรถแท็กซี่ของบริษัทหรือสหกรณ์แล้วแต่กรณี เช่น สีฟ้า เป็นรถของบริษ์ไทยเอส ลีสซิ่ง สีชมพูเป็นรถของสหกรณ์สหมิตร สีน้ำตามเป็นรถของสหกรณ์ปทุมวัน สีเขียวเป็นรถของสหกรณ์บวรณ์ เป็นต้น

2. ประเภทสองสี จะแบ่งออกได้สองชนิดด้วยกันคือ สีฟ้า/แดง และสีเขียว/เหลือง

สีฟ้า/แดงแท็กซี่สีฟ้า/แดง นั้นยังหมายถึงรถแท็กซี่ของบริษัทหรือสหกรณ์หรือผู้ที่ต้องการเข้าร่วมอยู่แต่เป็นรุ่นเก่าจึงไม่สามารถแยกออกได้ว่าเป็นของบริษัทหรือสหกรณ์อะไร แต่ในปัจจุบันเริ่มจะตกยุคไปแล้วหรือน้อยคันมากเพราะถ้าต้องทำสีใหม่เขาจะนิยมทำเป็นสีเดียว จุดสังเกตให้ดูที่ข้างรถว่าเขาพ่นด้วยสีขาวว่าบริษัทหรือสหกรณ์อะไร

สีเขียว/เหลืองรถแท็กซี่ที่สีเขียว/เหลืองนั้นเป็นรถแท็กซี่บุคคลโดยสีเขียว/เหลืองนั้นเป็นสีของกรมขนส่งที่จดทะเบียนไว้ให้ประชาชนทั่วไปที่อยากมีแท็กซี่เป็นของตัวเองได้ใช้โดยไม่ต้องไปขอร่วมกับสหกรณ์โดยกรมขนส่งกำหนดว่า "หนึ่งคนสามารถมีรถแท็กซี่บุคคลได้เพียงคันเดียวเท่านั้น" โดยจะมีเงื่อนไขและกฎหมายบังคับไว้ซึ่งจะนำมากล่าวถึงในหัวข้อ "แท็กซี่มือไหม่"
        
สภาพรถแท็กซี่ ถ้าจะพูดถึงสภาพของรถแท็กซี่แล้วแทบไม่ต้องอธิบายหลายคนอาจจะเคยนั่งทั่งแท็กซี่เก่าและแท็กซี่ใหม่มามากมาย หรือบางคนเห็นรถแท็กซี่เก่าก็ไม่อยากเรียกจอดด้วยซ้ำไป รอนั่งคันไหม่ๆ สีสวยๆ ดีกว่า ดูดีกว่าเยอะแยะ หรือบางคนอาจสงสัยไปมากกว่านั้นว่าทำไมยังมีแท็กซี่เก่าๆ คนขับแก่ๆ วิ่งอยู่บนท้องถนน ทำไมไม่มีแท็กซี่ที่เป็นรุ่นใหม่ๆ สีสวยๆ วิ่งอย่างเดียวงั้นมาลองจินตนาการตามผมดูน่ะ ในอดีต การที่จะมีแท็กซี่ได้สักคันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้มีรายได้น้อยเพราะการที่จะซื้อแท็กซี่ได้นั้นต้องใช้เงินจำนวนมากกว่าซื้อรถบ้านเสียอีก การที่จะมีแท็กซี่ได้นั้นต้องซื้อรถใหม่ป้ายแดงมาพ่นสีและติดตั้งอุปกรณ์ตามที่ขนส่งกำหนดอีกมากมายซึ่งรวมแล้วจะใช้เงินมากกว่ารถบ้านปกติอีกประมาณ 80,000 บาท และเมื่อได้มาเป็นรถแท็กซี่มาแล้วเจ้าของรถแท็กซี่ก็ต้องรีบวิ่งรถเพื่อทำรายได้คืนมาให้มากที่สุดจนบางครั้งรถมีอุบัติเหติแทบจะไม่มีเวลาจอดซ่อมกันเพราะถ้าจอดก็หมายความว่าเสียรายได้ไปทันที ถ้ารถคันไหนขับไม่เกิดอุบัติเหตเจ้าของก็รวยไป แต่ถ้าคันไหนเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาก็แย่หน่อย
ในปัจจุบันจึงมีบริษัทไฟแน้นเข้ามารับจัดไฟแน้นรถแท็กซี่กันมากมายถ้าเปลียบเทียบกับเมื่อก่อนซึ่งไม่มีเลย จึงทำให้คนที่อยากเป็นเจ้าของรถแท็กซี่ง่ายขึ้น ใช้เงินก็น้อย ดาวน์ก็ต่ำ ดอกเบี้ยก็ถูก ทำให้เจ้าของรถไม่กดดันมากนัก อีกทั้งยังมีเต้นต่างๆ เปิดบริการ เพื่อ รับซื้อขายแลกเปลี่ยนรถแท็กซี่มือสองกันมาก เพราะว่าลงทุนน้อยกว่ารถป้ายแดงมาก เงื่อนไขก็น้อยกว่า มีบริการหลังการขายไว้รองรับเมื่อเจ้าของรถมีปัญหาในการซ่อมแซม ฉะนั้นในอดีต เนื่องจากการได้มาของแท็กซี่ต้องลงทุนมากจึงทำให้เจ้าของรถขับจนลืมดูแลรักษา และกฎหมายเก่ายังให้เวลาแท็กซี่วิ่งได้ 12 ปี รถจึงโทรมมาก จนในปัจจุบันได้มีการแก้ไขกฎหมายกันใหม่ให้เหลืออายุการใช้งานเพียง 9 ปี หวังว่าคงจะเหลือแต่รถใหม่ๆ วิ่งตามท้องถนน

ประวัติ รถแท็กซี่เมืองไทย



รถแท็กซี่เมืองไทยมีวิวัฒนาการที่น่าสนใจไม่น้อย คุณเทพชู ทับทอง ได้เขียนเล่าไว้ว่า คำว่า " แท็กซี่ " เพิ่งจะมาได้ยินเมื่อ 20- 30 ปี ที่ผ่านมานี้เอง

แต่ก่อน ชาวพระนครเรียกรถแท็กซี่ว่า" รถไมล์ "

เมื่อราว พ.ศ. 2467 - 2468 พระยาเทพหัสดิน ณ อยุธยา (ผาด) เป็นผู้เริ่มกำหนด แท็กซี่ ครั้งแรกในเมืองไทย โดยนำเอารถยี่ห้อออสตินขนาดเล็ก ออกวิ่งรับจ้าง โดยติดป้ายรับจ้างไว้ข้างหน้า ข้างหลังของตัวรถ ซึ่งคนขับรถในสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นพวกทหารอาสา หลังสงครามโลกครั้งที่ 1สำหรับค่าโดยสารคิดเป็นไมล์ โดยตกไมล์ละ 15 สตางค์ ซึ่งนับว่าแพงมากเมื่อเทียบราคากับค่าโดยสารในปัจจุบัน รถแท็กซี่ในสมัยบุกเบิกใหม่ๆ นั้น มีอยู่เพียง 14 คัน ในปี 2469 แต่ถึงมีจำนวนน้อย ก็ประสบปัญหาการขาดทุน จนต้องเลิกกิจการ ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ว่า ค่าโดยสารแพง ผู้ใช้บริการยังไม่คุ้นเคยจึงไม่ยอมนั่ง ประกอบกับกรุงเทพฯ ยังมีขนาดเล็ก และมีรถรับจ้างอื่นๆ เช่น รถเจ็กอยู่มาก และราคาถูก หลังจากเลิกกิจการไปแล้ว กรุงเทพฯ ก็ไม่มีรถแท็กซี่อีกเลย

จนหลังสงครามโลกครั้งที่2 ในปี พ.ศ. 2490 มีผู้นำรถยนต์นั่งมาให้บริการในลักษณะรถแท็กซี่ ซึ่งได้รับความนิยมจนมีการจัดตั้งเป็นบริษัทเดินรถแท็กซี่ขึ้นมา ใน 3 - 4 ปี ต่อมา โดยคิดค่าโดยสารกิโลเมตรละ 2 บาท รถที่นำมาบริการในช่วงนั้น เป็นรถยี่ห้อเรโนลต์เครื่องท้ายคันเล็กๆ คุณเทพชูฯ บอกว่าคนกรุงเทพฯ สมัยนั้นเรียกว่าแท็กซี่ว่า "เรโนลต์"ซึ่งเป็นจุดเริ่มความสำเร็จของการเดินรถแท็กซี่ เพราะเป็นที่นิยมของคนทั่วไป เนื่องจากยังมีรถจำนวนน้อย คนนิยมนั่ง สะดวก รวดเร็วกว่ารถจักรยานสามล้อถีบ ซึ่งมีชุกชุมในยุคนั้น ด้วยเหตุนี้ทำให้อาชีพขับรถแท็กซี่เป็นที่ฮือฮา

มีผู้นำรถเก๋งไปทำเป็นรถแท็กซี่กันมาก จนระบาดไปต่างจังหวัดจนต้องมีการควบคุมกำหนดจำนวนรถมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับรถที่นำมาเป็นรถแท็กซี่นั้น หลังจากเรโนลต์เริ่มเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งานแล้ว ได้มีการนำรถออสตินแวนสองประตูสีเทามาใช้แทน ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นรถดัทสันบลูเบิด หรือรถเก๋งฮีโน่เครื่องท้ายตามกำลังทรัพย์ของแต่ละบริษัท จนกระทั่งเป็นรถโตโยต้า รถแลนเซอร์แชมป์ เนื่องจากรถแท็กซี่นั้น บุคคลธรรมดาอาจเป็นเจ้าของได้บางครั้งจึงอาจพบเห็นรถแท็กซี่ที่ใช้รถฮอนด้าหรือรถเปอร์โยต์นำมาเป็นรถแท็กซี่ด้วย สำหรับรถแท็กซี่ในเมืองไทย ในปัจจุบันเป็นรถปรับอากาศ ติดมิเตอร์ และมีวิทยุสื่อสาร